analyticstracking
หัวข้อ   “ ความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์ 2/1)
           ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์ 2/1) 4.52 คะแนน
โดยมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ
           โดยเรื่องที่อยากให้ รัฐบาลแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด คือ ปัญหาค่าครองชีพของแพง
ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและปัญหาภัยแล้ง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง“ความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์2/1)”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,176 คน พบว่า
 
                  ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่
(ประยุทธ์2/1) เฉลี่ยในภาพรวม 4.52คะแนน โดยมีความเชื่อมั่น ด้านการเมือง
มากที่สุด (4.80 คะแนน)
รองลงมาคือด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม(4.67 คะแนน) และ
ด้านเศรษฐกิจ (4.18 คะแนน) เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า
 
                 ตัวชี้วัดด้านการเมืองที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือ
ด้านการธำรงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระ
ประมุข(6.58 คะแนน)
ส่วนตัวชี้วัด ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนให้คะแนน
ความเชื่อมั่นมากที่สุดคือ ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (5.37 คะแนน)
และตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือ ด้านศักยภาพ
ของคนไทย (5.08 คะแนน)
 
                 ทั้งนี้ประชาชน ร้อยละ 41.5 ระบุว่า ค่อนข้างคาดหวังถึงคาดหวังมากต่อการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลใหม่
(ประยุทธ์2/1) ขณะที่ ร้อยละ 58.5 ระบุว่า ไม่ค่อยคาดหวังถึงไม่คาดหวังเลย
 
                 ส่วนเรื่องที่อยากให้รัฐบาลประยุทธ์ 2/1 แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนที่สุด ร้อยละ 75.9 คือ ปัญหาค่าครองชีพ
ของแพง รองลงมาร้อยละ 61.3 คือปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และร้อยละ 50.8 คือปัญหาภัยแล้ง
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ ศักยภาพโดยรวมของประเทศไทย ในปัจจุบัน

ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ
คะแนนความเชื่อมั่น
(เต็ม10คะแนน)
1) ด้านการธำรงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
6.58
2) ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากภาครัฐ
    (ถูกต้อง เป็นกลาง และเป็นประโยชน์)
4.45
3) ด้านความสามารถในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
4.34
4) ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
3.85
ความเชื่อมั่นด้านการเมือง (เฉลี่ยรวม)
4.80
5) ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.37
6) ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ
4.76
7) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
      (โจรกรรม ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกายภัยจราจร อาหารปนเปื้อนและมลพิษ)
4.41
8) ด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย
      (ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและความเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย)
4.12
ความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (เฉลี่ยรวม)
4.67
9) ด้านศักยภาพของคนไทย
    (การศึกษาสุขภาพความรู้ความสามารถความซื่อสัตย์มีวินัยพัฒนาได้)
5.08
10) ด้านภาพลักษณ์ต่อ นานาประเทศทั่วโลก
4.59
11) ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน
    (ด้านการผลิต เป็นแหล่งท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน)
4.50
12) ด้านฐานะการเงินของประเทศ
    (เงินคงคลัง หนี้ของประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศ)
3.55
13) ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ
    (รายได้เพียงพอกับรายจ่าย การมีงานทำ การกินดีอยู่ดี)
3.20
ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (เฉลี่ยรวม)
4.18
เฉลี่ยรวมทุกด้าน
4.52
 
 
             2.ความคาดหวังที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลใหม่
                 
                 
 
ร้อยละ
ค่อนข้างคาดหวังถึงคาดหวังมาก
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างคาดหวัง ร้อยละ 27.9 และคาดหวังมาก ร้อยละ 13.6)
41.5
ไม่ค่อยคาดหวังถึงไม่คาดหวังเลย
(โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยคาดหวัง ร้อยละ 31.9 และไม่คาดหวังเลย ร้อยละ 26.7)
58.5
 
 
             3.เรื่องที่อยากให้รัฐบาลใหม่แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนที่สุดต่อจากนี้ไป 5 อันดับแรก คือ
                 
                 
 
ร้อยละ
ปัญหาค่าครองชีพของแพง
75.9
ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
61.3
ปัญหาภัยแล้ง
50.8
ปัญหายาเสพติดอาชญากรรม
48.3
ปัญหาคอร์รัปชั่น
37.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ ในด้านต่างๆ
รวม 13 ด้าน หลังจากได้ ครม. ชุดใหม่ รวมถึงความคาดหวังต่อการปฏิบัติหน้าที่และเรื่องที่ต้องการให้แก้ไขอย่างเร่งด่วน
เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน บันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 22-24 กรกฎาคม 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 กรกฎาคม 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
643
54.7
             หญิง
533
45.3
รวม
1,176
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
116
9.9
             31 – 40 ปี
190
16.2
             41 – 50 ปี
319
27.1
             51 – 60 ปี
300
25.5
             61 ปีขึ้นไป
251
21.3
รวม
1,176
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
731
62.2
             ปริญญาตรี
339
28.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
106
9.0
รวม
1,176
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
176
15.0
             ลูกจ้างเอกชน
259
22.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
454
38.6
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
59
5.0
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
196
16.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
18
1.5
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
12
1.0
รวม
1,176
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776